เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คืออะไร?
ปัจจุบันการพัฒนาในทุกด้านย่อมมีเป้าหมายเพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกันทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมและสังคม แนวคิดนิเวศอุตสาหกรรมหรือ Industrial Ecology จึงเป็นแนวคิดใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบยั่งยืนที่มุ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนา ออกแบบระบบอุตสาหกรรมใหม่ให้คล้ายคลึงกับระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ ที่อยู่บนหลักการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) และดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนเป็นสำคัญ เพื่อคงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไป
การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน (Sustainable Industrial Development)
ด้วยทิศทางและโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีภาคอุตสาหกรรมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ทุกฝ่ายจึงมุ่งความสนใจไปยังการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยหลักการใหม่ ๆ
Industrial Ecology (อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ)
ดังนั้น “Industrial Ecology” จึงเป็นแนวคิดทฤษฎีที่เกิดขึ้น เพื่อประยุกต์เข้ากับ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน โดยการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นั่นเอง คำว่า “Industrial Ecology” เริ่มเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ปี 1989 (พ.ศ. 2532) เมื่อ Frosch and Gallopoulos ได้เสนอหลักการนี้ในวารสาร Scientific American
“Industrial Ecology”เป็นแนวความคิดใหม่ โดยการออกแบบระบบอุตสาหกรรมเสียใหม่ ให้แลดูคล้ายระบบนิเวศวิทยาตามธรรมชาติ อันอยู่ได้โดยหลักการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) และดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนเป็นสำคัญ
“Industrial Ecology” ก็คือกระจกที่ส่องสะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงกันระหว่างวัสดุและสสาร ซึ่งไหลวนโยงใยกันอยู่ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศตามธรรมชาติ โดยสะท้อนออกมาเป็นการเชื่อมโยงกันในระบบอุตสาหกรรมหรืออาจเรียกในชื่อของ
“Industrial Ecosystem” ... คือระบบที่มีการใช้พลังงานและวัตถุดิบ, วัสดุต่าง ๆ อย่างสมดุลเหมาะสม (Optimized), ก่อเกิดของเสียน้อยที่สุด และสารที่ออกจากกระบวนหนึ่งจะสามารถถูกใช้เป็นวัตถุดิบของกระบวนการอื่น ๆ ได้หรือชื่อของ
“Industrial Symbiosis” …..คือความสัมพันธ์ที่พึ่งพาอาศัยกันและกัน ระหว่างตั้งแต่ 2 โรงงานขึ้นไป โดยมีการแลกเปลี่ยนพลังงาน, สสาร ในลักษณะของต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ โดยแต่ละฝ่ายต่างสนับสนุน welfare ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งหรือชื่อของ
“Industrial Eco-Efficiency” เนื่องจาก Eco หมายถึง ทั้ง Ecology และ Economic บางครั้งจึงเรียก E2 – Efficiency หมายถึง การพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบที่เป็นผลดีต่อทั้งธุรกิจและต่อสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักสมดุลของการอนุรักษ์/ประหยัดทรัพยากรน้า, การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ การลดปริมาณการใช้สารพิษ และการลดปริมาณของเสีย
Industrial Ecology จึงเสนอการปิดวงจร (Closing the loop) เพื่อลดผลกระทบจากกิจกรรมของกระบวนการผลิตแบบ linear flow ที่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ (end of pipe) Industrial ecology สามารถนามาประยุกต์ใช้ โดยการที่โรงงานหนึ่งสามารถรับวัตถุดิบ ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลือใช้, ผลิตภัณฑ์พลอยได้หรือของเสียจากอีกโรงงานหนึ่ง อันนับเป็นการลดการใช้วัตถุดิบที่ต้นทางดั้งเดิมลงด้วย นอกจากนี้ของเสียอุตสาหกรรมที่เกิดจากกระบวนการผลิตก็สามารถได้รับการบาบัดอย่างถูกวิธีหรือ นามาใช้ใหม่ หมุนเวียนกลับมาใช้
การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Development : EID)
จากแนวคิดทฤษฎี Industrial Ecology สู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco Industrial Development : EID) การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (EID – Eco-Industrial Development) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัสดุและพลังงานอย่างคุ้มค่า ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบก่อนใช้ และด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ การเพิ่มประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต หากยังเป็นการลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจอีกด้วย
จากประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้รับเพิ่มขึ้นนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ จึงเป็นกลไกที่เพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดยใช้มาตรการในการป้องกันมลภาวะตั้งแต่แรกเริ่ม แทนการใช้หลักการบำบัดมลภาวะที่เกิดขึ้นในท้ายสุดของกระบวนการผลิต และนอกจากนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศยังเป็นการสร้างงานควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
Eco – Industrial Development : EID เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของการนาหลักการ Industrial Ecology มาปฏิบัติจริง ซึ่งแนวคิดของ EID นี้ เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในอเมริกา ตั้งแต่ปี 1993 (พ.ศ. 2536) จากการนาเสนอของ Indigo Development Institute มายัง US.EPA. ในรูปของ Eco Industrial Park (EIP)โดยในประเทศไทยเรียก “Eco Industrial Estate” : EIE
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น